วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

ซิลิกอนคืออะไร?

ซิลิกอน


ซิลิกอน (Si) เป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากออกซิเจน (O2) เราจึงพบ ซิลิคอนทั่วไปทั้งในดิน และพืชต่างๆ ซิลิกอนที่พบส่วนใหญ่นี้จะอยู่ในรูปของสารประกอบต่างๆ ที่เราพบเห็นทั่วๆไป เช่น ผลึกควอทซ์ ทราย แก้ว ซิลิโคน เกลือซิลิเกตต่างๆ ฯลฯ แม้ว่า ซิลิกอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลัก แต่ก็เป็นธาตุอาหารที่สำคัญ ที่ใช้ในกลไกในการสังเคราะห์แสง และการสร้างโครงสร้างของลำต้นและใบพืช การปลูกพืชซ้ำซาก เป็นเวลานาน โดยเฉพาะ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว อ้อย ฯลฯ อาจทำให้ ซิลิกอนที่อยู่ในดิน สลายตัวมาอยู่ในรูปแบบที่ละลายน้ำได้ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จนทำให้โครงสร้างของลำต้นพืชอ่อนแอ ตกเป็นเป้าทำลายของโรคและแมลง และนี้คือความสำคัญของสารซิลิกอน ในวัฎจักรของพืช


ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า แม้ว่าซิลิกอนจะมีอยู่มากมายบนพื้นโลก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ หรือเกลือซิลิเกต ที่ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนรูปให้ละลายน้ำ ซึ่งต้องใช้เวลานาน การให้ซิลิกอนในรูปของเหลว กับพืชจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แอกทีฟ ซิลิกอน ของกรีนซิล สามารถ ดูดซึมได้ทั้ง ทางใบและราก และสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง ภายใน 3-5 วันหลังจากฉีดพ่น


การใช้ ซิลิกอน ในการเกษตร มีการใช้กันอย่างกว้างขวางเป็นเวลานานแล้ว โดยแฉพาะ การเกษตรในกลุ่มประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งต้องการผลผลิตต่อไร่สูงๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ แต่ซิลิกอนเหล่านั้น เป็นแร่จากหินภูเขาไฟ หรือเป็นผลพลอยได้จาก อุตสาหกรรม ซึ่งการควบคุมสิ่งเจือปนทำได้ในปริมาณที่จำกัด แอกทีฟซิลิกอน ของกรีนซิล เป็นซิลิกอนที่ละลายน้ำ ในรูปของเหลว ซึ่งสกัดได้มาจากชีวมวล ซึ่งพืชต่างๆเหล่านี้ได้คัดกรองและสะสมซิลิกอนไว้ บวกกับกรรมวิธีสกัดอันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของกรีนซิล ทำให้ แอกทีฟซิลิกอนที่ได้ บริสุทธิ์ ดูดซึม ตอบสนองได้ดีกับพืช และปราศจากสารพิษ อันเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สายด่วน กรีนซิล โทร 082-394-0111

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น